หอยเต้าปูน
หอยเต้าปูน (อังกฤษ: Cone snail, Cone shell) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมมอลลัสคา ชั้นแกสโทรโพดา เป็นสัตว์นักล่า พบได้ตามแถบแนวปะการัง เปลือกมีสีสันสดใส และมีลวดลายสวยงาม ดึงดูดสายตา แต่มีบางสายพันธุ์ที่สีของหอยเต้าปูนจะซ่อนอยู่ภายใต้เนื้อเยื่อพิเศษ ที่ยังไม่ทราบการทำงานที่แน่ชัด (Periostracum) บางชนิดในแถบทะเลเขตร้อน จะมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ มีมากกว่า 500 สปีชี่ส์ จัดเป็นสัตว์กินเนื้อ มักจะล่าหนอนทะเล ปลาเล็ก ๆ หอย หรือแม้กระทั่งหอยเต้าปูนด้วยกันเองเป็นอาหาร เนื่องจากเคลื่อนที่ได้ช้า จึงมีการพัฒนาอาวุธเฉพาะตัวขึ้นมาคือ เข็มพิษ (venomous harpoon) เพื่อใช้สำหรับล่าเหยื่อและทำให้เหยื่อหมดสติก่อนกลายเป็นอาหาร ที่มีความรวดเร็วสูง ซึ่งในสายพันธุ์ขนาดใหญ่ พิษของหอยเต้าปูนมีความรุนแรงมากพอที่จะฆ่าคนได้หอยเต้าปูนเป็นสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม มีเปลือกห่อหุ้มอยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อเป็นการป้องกันอันตราย จากสัตว์อื่น ๆ ในท้องทะเล มีเข็มพิษเป็นอาวุธ พิษของหอยเต้าปูนเป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความซับซ้อนในโครงสร้างของพิษ อีกทั้งยังออกฤทธิหลากหลาย ทำให้ยากที่จะป้องกันได้ ซึ่งพัฒนาการนี้เองทำให้หอยเต้าปูนได้เปรียบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น สามารถทำให้เหยื่อเป็นอัมพาตชนิดเฉียบพลันได้ภายใน 1/200 วินาที ความเร็วในการจู่โจมอยู่ที่ 1/4 วินาที
หอยเต้าปูนสายพันธุ์ Conus geographus ที่รู้จักกันชื่อ หอยบุหรี่ มีเข็มพิษที่ร้ายแรงมาก ถึงกับมีคำกล่าวว่า หากใครถูกเข็มพิษของชนิดนี้เข้า จะมีชีวิตอยู่ได้เพียงช่วงเวลา ของบุหรี่ 1 มวน ในสายพันธุ์ของเขตร้อนที่มีขนาดใหญ่ เข็มพิษจะสามารถเจาะทะลุถุงมือหรือชุดว่ายน้ำได้ พิษของมันจะทำให้ ปวด บวม ชา ในกรณีที่ร้ายแรง จะทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต สายตาพร่ามัว ระบบหายใจล้มเหลว ปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดจะช่วยเยียวยาหรือรักษาพิษของหอยเต้าปูนได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น